เมนู

อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ที่เป็นอุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรมเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอุปาทาธรรมและไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย.

4. อนันตรปัจจัย


[324] 1. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

เหมือนกับ
ปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย เหมือน
กับปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
ในปัจจยวาระ เหมือนกับนิสสยวาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[325] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยซึ่งความถึงพร้อมด้วยจักษุ ฯลฯ ซึ่งความถึงพร้อม
ด้วยกายะ ซึ่งความถึงพร้อมด้วยวรรณะ ซึ่งความถึงพร้อมด้วยสัททะ ซึ่งความ
ถึงพร้อมด้วยคันธะ ซึ่งความถึงพร้อมด้วยรสะ ซึ่งโภชนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์.
ความถึงพร้อมด้วยจักษุ ความถึงพร้อมด้วยกายะ ความถึงพร้อมด้วย
วรรณะ ความถึงพร้อมด้วยสัททะ ความถึงพร้อมด้วยคันธะ ความถึงพร้อม
ด้วยรสะ โภชนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.